ดัชนีการวิจัยวิทยาศาสตร์แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ของ Bibliometrics

  1. Input Indicators เช่น งบประมาณลงทุนการวิจัย เครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากร
  2. Output Indicators เช่น สิ่งตีพิมพ์งานวิจัยต่างๆ ( หนังสือ บทความ สิทธิบัตร )

ดัชนีชี้วัดที่แท้จริงต้องสามารถบ่งถึง/แสดงถึงลักษณะพิเศษของกิจกรรมงานวิจัยเรื่องหนึ่งๆ ได้ เช่น จำนวนบทความตีพิมพ์ จำนวนการอ้างอิง หรือจำนวนงบประมาณ รวมถึงแสดงความสัมพันธ์ของค่าต่างๆ เช่น ค่าจำนวนบทความต่อนักวิจัยกลุ่มหนึ่ง หรือค่าจำนวนการอ้างอิง/หนึ่งบทความ และควรสามารถสร้างค่าผสมที่แสดงถึงความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่างค่า input/output เช่น งบประมาณ/หนึ่งบทความ/กลุ่มวิจัย

ดัชนี Bibliometrics มีประสิทธิภาพในระดับสูง เป็นวิธีที่เหมาะสม ทำการวิเคราะห์หารูปแบบของข้อมูลดิบขนาดใหญ่ได้ เช่น ระดับคณะ มหาวิทยาลัย แต่เป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมสำหรับส่วนบุคคลหรือกลุ่มวิจัยเล็กๆ ในศตวรรษที่ผ่านมา ค่า Impact factor (IF) ในวารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้น และใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ ทั้งในการวิจัยและนโยบายBibliometrics เครื่องมือมาตรฐานในการประเมินงานวิจัยสาขานี้ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 1978 เกิดวารสารชื่อ Scientometrics และปี 1995 มีการตั้งสมาคมชื่อ International Society for Scientometries & Informetrics Bibliometrics และ Scientometrics ได้ช่วยสนับสนุนอย่างมากมาย/เอนกอนันต์ ในวิธีการประเมิน เพื่อใช้พิจารณาในเรื่องการเลื่อนตำแหน่ง ครองตำแหน่ง และการให้รางวัลจากวงการวิจัยทั่วโลก